งบการเงินงบการเงิน (Financial Statement)ความหมายอย่างสั้นงบการเงิน คืออะไร?งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานข้อมูลทางการเงินที่ได้จัดทำขึ้นจากข้อมูลทางการเงินที่กิจการได้จดบันทึกไว้ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการ ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลานั้นๆความสำคัญของเรื่องวัตถุประสงค์ของการจัดทำงบการเงินงบการเงินถูกจัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ อันเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน ทุกประเภทในการนำไปใช้ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน ฝ่ายบริหาร บริษัทคู่ค้า ลูกค้าของบริษัทงบการเงินแสดงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารหรือความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารในการบริหารทรัพยากรของกิจการ ผู้ประกอบการสามารถใช้งบการเงินมาประเมินผลการบริหารงานหรือความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนี้อาจรวมถึงการตัดสินใจขายหรือถือเงินลงทุนในกิจการต่อไป หรือแม้กระทั่งการ ตัดสินใจโยกย้ายหรือเปลี่ยนผู้บริหาร ข้อมูลต่างๆในงบการเงินไม่เพียงแต่มีประโยชน์กับผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์กับเจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้น บริษัทคู่ค้าลูกค้า และบุคคลอื่นที่สนใจในกิจการซึ่งรวมถึงนักลงทุนภายนอกหากเป็นบริษัทที่มีการจดทะเบียนในตลาดหุ้น อีกทั้งรัฐบาลยังใช้ประโยชน์จากงบการเงินในการคำนวณภาษีที่จะเรียกเก็บจากกิจการอีกด้วยระยะเวลาในการจัดทำงบการเงินงบการเงินจัดทำขึ้นอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อสนองความต้องการข้อมูลของผู้ใช้งบการเงินทุกประเภท เนื่องจากผู้ใช้งบการเงินต้องการเปรียบเทียบฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการสำหรับรอบระยะเวลาที่ต่างกัน ดังนั้นงบการเงินจึงแสดงข้อมูลของรอบระยะเวลาที่ผ่านมาด้วยเพื่อประโยชน์ในการเปรียบเทียบผลการ
ความหมายอย่างละเอียดส่วนประกอบของงบการเงินงบการเงินประกอบด้วย1. งบดุล (Balance Sheet)2. งบกำไรขาดทุน (Income Statement)3. งบกำไรสะสม (Retained Earning Statement)4. งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements)การจำแนกรายการในงบการเงินรายการในงบการเงินสามารถจำแนกได้ 5 ประเภท คือ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุน (ส่วนของเจ้าของ) รายได้ และค่าใช้จ่าย เมื่อจัดทำบัญชีและรายงานสรุปเป็นงบการเงิน คือ งบดุล และงบกำไรขาดทุนในสิ้นงวดของกิจการแล้ว รายการประเภท สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุนจะแสดงในงบดุลอันเป็นงบแสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายจะแสดงในงบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นงบแสดงผลการดำเนินงานของกิจการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งวดที่ 1 : นิยามธุรกิจ: การบัญชีความสัมพันธ์ที่ปรากฏดังภาพข้างบนนี้ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกันของงบการเงินประเภทต่างๆ โดยเริ่มจากงบดุล 1 มกราคม 25X1 ที่แสดงกำไรสะสมเท่ากับ 380,000 บาท เมื่อ กิจการดำเนินผ่านไป 1 ปี รายการกำไรสะสมของงบดุลจะถูกกระทบด้วยผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา นั่นก็คือกำไรสะสมจะเพิ่มเท่ากับกำไรสุทธิในงวดนั้นหรือลดลงเท่ากับขาดทุนสุทธิในงวดนั้นเช่นกัน และถ้ามีการจ่ายปันผลก็จะหักออกไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นกำไรสะสม ณ 31 ธันวาคม 25X1 จะเพิ่มเท่ากับกำไรสุทธิของงวดหักด้วยเงินปันผลจ่ายที่แสดงในงบกำไรสะสม เท่ากับ 612,000 บาทความสัมพันธ์ของงบกระแสเงินสดกับงบดุล รายการที่จะกระทบก็คือเงินสดที่ปรากฏในงบดุล จากภาพด้านบน เราเริ่มงบดุล 1 มกราคม 25X1 ที่แสดงเงินสดเท่ากับ 40,000 บาท เมื่อ กิจการดำเนินผ่านไปอีก 1 ปี รายการเงินสดของงบดุลจะถูกกระทบด้วยกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามที่แสดงในงบกระแสเงินสดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งในกรณีนี้ก็คือเงินสดในงบดุล ณ 31 ธันวาคม 25X1 จะเพิ่มเท่ากับเงินสดสุทธิที่แสดงในงบกระแสเงินสดคือ 15,000 บาท และจะแสดงมูลค่าเงินสดเป็น 55,000 บาทสำหรับงบดุล ณ 31 ธันวาคม 25X1ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ข้อจำกัดในการใช้งบการเงินแต่ละประเภทงบการเงินไม่ได้ให้ข้อมูลทุกประเภทที่ผู้ใช้งบการเงินต้องการในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่แสดงในงบการเงินแสดงถึงผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ในอดีต ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน จึงมีข้อจำกัดบางประการในการใช้งบการเงินดังต่อไปนี้งบดุล ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญก็คือ สินทรัพย์ หนี้สิน และทุน สิ่งที่พึงระวังในการอ่านหรือพิจารณานำข้อมูลในงบดุลมาใช้ก็คือ คุณภาพของสินทรัพย์แต่ละรายการ อาทิเช่น สินค้าคงคลังที่ปรากฏในงบดุล อาจจะเป็นสินค้าล้าสมัย มูลค่าที่แท้จริงอาจจะต่ำกว่าที่ปรากฏไว้ในงบดุลนั้นก็ได้ เช่นเดียวกันกับรายการทางสินทรัพย์ถาวรเช่น โรงงาน ที่ดิน หรือเครื่องจักรรายการที่ปรากฏเป็นข้อมูลทางการบัญชี สินทรัพย์ถาวรเหล่านั้นอาจจะเป็นมูลค่าที่ซื้อมาเป็นเวลานานแล้วก็ได้อาจจะไม่สอดคล้องกับมูลค่าในปัจจุบัน เช่น ที่ดิน อาจเป็นมูลค่าที่ซื้อมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท มูลค่าอาจจะน้อยมากๆ ถ้าราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเวลาที่ผ่านมานอกจากนั้นสินทรัพย์บางรายการ เช่น ทรัพยากรมนุษย์ หรือตรายี่ห้อที่มีบทบาทต่อการสร้างรายได้ให้กับกิจการก็ไม่ได้ปรากฏในงบดุล
งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่สร้างตามหลักทางการบัญชี จับคู่รายได้กับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละงวด โดยไม่ได้คำนึงว่ารายได้หรือค่าใช้จ่ายนั้นเป็นเงินสดหรือไม่ ดังนั้นมีโอกาสเป็นไปได้ที่กิจการหรือบริษัทขายสินค้าได้มาก และมีกำไรสุทธิในอัตราที่สูงแต่ไม่มีเงินสดเข้ามาในกิจการเลย เพราะการขายเป็นการขายเชื่อ และถ้าเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ กิจการนั้นๆอาจจะประสบกับปัญหาขาดเงินสดที่จะไปดำเนินกิจการ เช่น ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานหรือจ่ายดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ อาจส่งผลต่อการล้มละลายของกิจการก็เป็นได้
วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น